แพ้เครื่องสำอาง !!
สาวๆ
คงจะไม่ปฏิเสธว่าสมัยนี้เครื่องสำอางเข้ามามีบทบาทมาก จะสวยเริ่ด เชิดเป๊ะ
ก็ต้องแต่งเสริมเติมสวยกันหน่อย แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องระมัดระวัง
คือการแพ้เครื่องสำอาง
มารู้เกี่ยวกับการแพ้เครื่องสำอาง เพื่อจะได้ระมัดระวัง และเลือกใช้เครื่องสำอางได้อย่างถูกต้อง
การแพ้เครื่องสำอางพบได้บ่อยในกรณีที่ซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อใหม่มาใช้
แล้วเกิดอาการที่คิดว่าแพ้เครื่องสำอางขึ้น
ส่วนใหญ่ก็เพียงแค่เลิกใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนั้นไป โดยไม่ได้ไปพบแพทย์
ทำให้ไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้วตัวเองแพ้สารใดในเครื่องสำอางกันแน่
ราวครึ่งหนึ่งของการแพ้เครื่องสำอางเกิดขึ้นบนใบหน้ารวมทั้งบริเวณเปลือกตา
และ 80% พบในเพศหญิง ซึ่งส่วนประกอบ 3
ตัวหลักในเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ น้ำหอม สารกันบูด
และน้ำยาย้อมผม
การทดสอบว่าแพ้เครื่องสำอาง..
การที่เราจะวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องว่า
ผื่นที่ผิวหนังนั้นเกิดจากการแพ้เครื่องสำอาง
ก็โดยการทดสอบทางผิวหนังที่เรียกว่า Patch Test
โดยการทำสารที่สงสัยมาแปะติดที่ผิวหนังแล้วตรวจดูในเวลาต่อมาว่ามีผื่นเกิด
ขึ้นหรือไม่ในบริเวณนั้น
การทดสอบ Patch Test นี้ทำได้หลายวิธี วิธีง่าย ๆ
คือ
นำเครื่องสำอางที่คิดว่าเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดอาการแพ้มาทากับผิวหนังโดย
ตรง บริเวณที่นิยมใช้คือ บริเวณข้อพับแขน
โดยการทาเครื่องสำอางบริเวณนั้นวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์
แล้วดูว่ามีผื่นเกิดขึ้นบริเวณที่ทาหรือไม่
วิธีทดสอบง่าย ๆ ด้วยตนเองอีกวิธีหนึ่ง ทำโดยการงดใช้เครื่องสำอางทุกชนิด
เมื่ออาการผิวหนังอักเสบหายแล้ว
ให้เริ่มใช้เครื่องสำอางใหม่ทีละตัวเป็นระยะ ๆ ไป
ถ้ามีผื่นเกิดขึ้นให้ลองหยุดใช้เครื่องสำอางตัวสุดท้ายที่ใช้ ถ้าอาการหายไป
ก็น่าจะเป็นเครื่องสำอางตัวสุดท้ายที่เป็นสาเหตุ
หลังจากที่ทดลองได้ผลแล้วว่าแพ้เครื่องสำอางตัวใด
ควรงดใช้เครื่องสำอางทุกชนิดต่อไปอีก 2 - 6 สัปดาห์
แล้วจึงกลับมาใช้เครื่องสำอางที่ไม่แพ้ได้ใหม่
การทดสอบแบบที่ละเอียดมากกว่าที่กล่าวมานี้
จะทำโดยการทดสอบหาสารเคมีซึ่งเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
เพื่อตรวจสอบดูว่าจะแพ้สารตัวใดในเครื่องสำอางชนิดนั้น ๆ
ซึ่งวิธีนี้จะมีประโยชน์ คือ ต่อไปถ้าเราจะเลือกใช้เครื่องสำอางอีก
ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารเคมีตัวที่เราแพ้ได้
การทำ Patch Test แบบนี้ ใช้สารเคมีตัวที่สงสัย ในความเข้มข้นที่เหมาะสม
มาทาบนหลังผู้ป่วย แล้วใช้เทปปิดทับไว้ ทิ้งไว้ 2 วัน กลับมาอ่านผล
โดยดึงเอาเทปออก แล้วตรวจดูผิวหนังว่ามีผื่นหรือตุ่มน้ำเล็ก ๆ
เกิดขึ้นบ้างหรือไม่ ที่ตำแหน่งของสารเคมีตัวใด
ซึ่งจะบอกได้ว่าผู้ป่วยแพ้สารเคมีตัวใดบ้าง
อาการแพ้เครื่องสำอาง
ปัญหาที่หลายคนสงสัย คือ อาการอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นการแพ้เครื่องสำอาง ซึ่งจะทำให้ระมัดระวังตัวหากมีอาการแพ้เกิดขึ้น
อาการกลุ่มแรก ของการแพ้เครื่องสำอาง
คือการที่ผู้ป่วยใช้เครื่องสำอางแล้วรู้สึกด้วยตนเอง เช่น
อาการปวดแสบปวดร้อน อาการคัน ปกติอาการเหล่านี้จะเป็นช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 10
นาที
อาการกลุ่มต่อมา เป็นอาการที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หลาย ๆ
คนมีความเชื่อว่าคนผิวขาวจะมีโอกาสแพ้เครื่องสำอางได้ง่ายกว่าคนผิวคล้ำ
ที่จริงก็ไม่เสมอไปนัก คนผิวดำเช่นพวกนิโกร
ก็มีอาการแพ้เครื่องสำอางได้เช่นกัน
บริเวณของร่างกายที่จะแพ้เครื่องสำอางได้มากที่สุด คือ
บริเวณใบหน้าเพราะผิวหนังบริเวณนั้นบางที่สุด
อาการแพ้ที่แสดงให้เห็นด้วยตาแบบนี้ อาจเห็นเป็นตุ่มน้ำสีแดง เล็ก ๆ
ผิวหนังอักเสบแดง หรือเป็นปื้นนูนแบบลมพิษ
ที่น่าสนใจคือ
การแพ้เครื่องสำอางมักจะก่อให้เกิดรอยดำบนใบหน้า
น้ำหอมจะมีสารเคมีที่เมื่อโดนแสงแล้วจะกระตุ้นให้เกิดการแพ้แสงแดด
เห็นเป็นรอยดำบริเวณที่ทาน้ำหอม เช่น ซอกคอ หลังฝ่ามือ
หรือในคนที่ชอบใช้น้ำหอม โอเดอร์โคโลญจน์ลูบหน้า
จะเห็นเป็นปื้นดำที่หน้าได้เช่นกัน
ในบางประเทศพบว่าการใช้ยารักษาฝ้าที่มีสารไฮโดรควิโนนความเข้มข้นสูง ๆ
จะก่อให้เกิดปื้นดำบนใบหน้าได้
คือนอกจากฝ้าจะไม่หายแล้วยังเกิดรอยดำใหม่ขึ้นบนใบหน้าด้วย
ฉะนั้นคนที่ชอบใช้ครีมรักษาฝ้าด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
ควรจะต้องระวังผลแทรกซ้อนนี้
เครื่องสำอางที่ใช้ที่เล็บก็อาจทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองรอบเล็บได้ รวมทั้งทำให้เล็บผุกร่อนและเปลี่ยนสีได้
เครื่องสำอางพวกน้ำยาดัดผมและน้ำยายืดผม
จะมีคุณสมบัติทำให้ไดซัลไฟด์บอนด์ของเส้นผมแตกตัวออก
การใช้เครื่องสำอางประเภทนี้จึงอาจทำให้เส้นผมเปราะหักได้
เส้นผมที่อ่อนแออยู่แล้ว เช่น เส้นผมที่ได้รับการดัดมาแล้ว ยืดมาแล้ว
ถูกย้อมหรือถูกกัดสีมาแล้ว หรือเส้นผมที่ถูกแสงแดดมาก ๆ
หรือถูกสารคลอรีนมาก ๆ จะยิ่งเปราะ หักได้ง่ายกว่าเส้นผมปกติ
เครื่องสำอางทำให้เกิดสิวได้
ในท้องตลาดปัจจุบันเครื่องสำอางหลายชนิดมีส่วนประกอบของสารที่ก่อให้เกิดสิว
ได้ จึงไม่แปลกเลยที่จะเห็นคนที่อายุ 30 - 40 ปี ยังคงเป็นสิวอยู่ ทั้ง ๆ
ที่สิวโดยปกติแล้วจะเป็นในช่วงวัยรุ่น
มีการทดลองใช้เครื่องสำอางทาหูกระต่าย
พบว่าหูกระต่ายมีตุ่มสิวขึ้นมาได้เช่นกัน
ที่น่าสนใจกว่านั้นพบว่าการทดลองเกี่ยวกับการเกิดสิวนั้น
ยังไม่ได้มาตรฐานพอที่จะยึดถือได้
เครื่องสำอางที่อ้างว่าไม่ก่อให้เกิดคอมมีโดน (คอมมีโดน คือ
ต้นกำเนิดของสิว) เมื่อใช้ ๆ ไปก็พบว่าทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน
ที่มา...newunewlook.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น