"ฝ้า" เมื่อได้ยินคำนี้ผู้หญิงหลายคนคงไม่อยากได้ยินหรือไม่อยากเจอกับตัวเองเลยด้วยซ้ำ ยิ่งถ้าต้องมาเป็นบนใบสวย ๆ คงจะอดไม่ได้ที่จะกลุ้มอกกลุ้มใจกันเหลือเกิน ฉะนั้นวันนี้เราจึงมีคำแนะนำในการ รักษาฝ้า แต่ก่อนหน้านั้นเรามาำการรู้จักกับ ฝ้า กันก่อนค่ะ
ฝ้า คือ แผ่นสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้มบนใบหน้ามักพบที่แก้ม หน้าผาก จมูก เหนือริมฝีปากและคาง นอกจากนี้อาจพบได้ที่คอและแขนด้านนอกพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายโดยเฉพาะในระหว่างการตั้งครรภ์และในวัย 30 และ 40 ปีขึ้นไป
ฝ้าเกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสีซึ่งอยู่ในชั้นหนังกำพร้ามีการสร้างเม็ดสีเมลานินออกมามากผิดปกติ และส่งเม็ดสีให้เซลล์ผิวหนังด้านบนเป็นจำนวนมากกว่าปกติด้วย
รักษาฝ้า
ควรแนะนำข้อปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย คือ อย่าถูกแดดมาก (เวลาอยู่กลางแจ้งควรใส่หมวกหรือกางร่ม) ควรหลบแสงไฟแรง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอมและเครื่องสำอางที่สำคัญควรพักผ่อนให้เพียงพอและ อย่าเครียด
การใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีโดยไม่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีและ เร่งเซลล์ผิวหนังชั้นบนซึ่งมีเม็ดสีเมลานินที่สร้างขึ้นมาแล้วให้หลุดลอกออก ไป (ยารักษาฝ้าในปัจจุบันมักประกอบด้วยสารหลายชนิดที่สำคัญคือ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) กรดวิตามินเอและสเตอรอยด์เป็นยารักษาฝ้าที่มีประสิทธิภาพดีแต่อาจเกิดผลข้าง เคียงจากการระคายเคืองได้จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์)
การป้องกันไม่ให้เกิดฝ้ามากขึ้นโดยหลีกเลี่ยงแสงแดดและใช้ครีมกันแดดที่มี ค่าป้องกันสูง หลีกเลี่ยงการได้รับฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด เครื่องสำอาง และน้ำหอมที่มีฮอร์โมนหรือสเตอรอยด์เป็นส่วนผสม
การลอกฝ้าควรใช้ในรายที่แพทย์เห็นสมควรโดยใช้ยาลอกฝ้า ได้แก่ ไฮโดรควิโนนขนาด 2-4% ทาวันละ 2 ครั้งจะช่วยลดการสร้างเม็ดสี ทำให้ฝ้าจางลงได้ยานี้อาจทำให้แพ้ได้ จึงควรทดสอบโดยทาที่แขนแล้วทิ้งไว้ 2-3 วัน(ห้ามล้างออก) ดูว่ามีผื่นแดงหรือไม่ถ้ามีก็ห้ามใช้ยานี้
ใช้ยากันแสง ได้แก่ พาบา (PABA ซึ่งย่อมาจาก Para-amin Benzoic Acid) ทาตอนเช้าหรือก่อนออกแดด ควรใช้ชนิดที่มีความสามารถในการกรองแสง (Sun Protective Factior/SPF) มากกว่า 15 ขึ้นไป ยานี้อาจทำให้แสบตา แสบจมูก เป็นสิวหรือแพ้ได้ โดยทั่วไปมักจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าอาการจะดีขึ้นและจะต้องใช้ยากันแสง ไปเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการกลับเป็นฝ้าอีก ถ้าไม่ดีขึ้นใน 1-2 เดือน หรือแพ้ยาที่ทารักษาฝ้าหรือสงสัยเป็นโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์ทางโรคผิวหนัง การใช้แสงเลเซอร์ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์
การใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีโดยไม่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีและ เร่งเซลล์ผิวหนังชั้นบนซึ่งมีเม็ดสีเมลานินที่สร้างขึ้นมาแล้วให้หลุดลอกออก ไป (ยารักษาฝ้าในปัจจุบันมักประกอบด้วยสารหลายชนิดที่สำคัญคือ ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) กรดวิตามินเอและสเตอรอยด์เป็นยารักษาฝ้าที่มีประสิทธิภาพดีแต่อาจเกิดผลข้าง เคียงจากการระคายเคืองได้จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์)
การป้องกันไม่ให้เกิดฝ้ามากขึ้นโดยหลีกเลี่ยงแสงแดดและใช้ครีมกันแดดที่มี ค่าป้องกันสูง หลีกเลี่ยงการได้รับฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด เครื่องสำอาง และน้ำหอมที่มีฮอร์โมนหรือสเตอรอยด์เป็นส่วนผสม
การลอกฝ้าควรใช้ในรายที่แพทย์เห็นสมควรโดยใช้ยาลอกฝ้า ได้แก่ ไฮโดรควิโนนขนาด 2-4% ทาวันละ 2 ครั้งจะช่วยลดการสร้างเม็ดสี ทำให้ฝ้าจางลงได้ยานี้อาจทำให้แพ้ได้ จึงควรทดสอบโดยทาที่แขนแล้วทิ้งไว้ 2-3 วัน(ห้ามล้างออก) ดูว่ามีผื่นแดงหรือไม่ถ้ามีก็ห้ามใช้ยานี้
ใช้ยากันแสง ได้แก่ พาบา (PABA ซึ่งย่อมาจาก Para-amin Benzoic Acid) ทาตอนเช้าหรือก่อนออกแดด ควรใช้ชนิดที่มีความสามารถในการกรองแสง (Sun Protective Factior/SPF) มากกว่า 15 ขึ้นไป ยานี้อาจทำให้แสบตา แสบจมูก เป็นสิวหรือแพ้ได้ โดยทั่วไปมักจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าอาการจะดีขึ้นและจะต้องใช้ยากันแสง ไปเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการกลับเป็นฝ้าอีก ถ้าไม่ดีขึ้นใน 1-2 เดือน หรือแพ้ยาที่ทารักษาฝ้าหรือสงสัยเป็นโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์ทางโรคผิวหนัง การใช้แสงเลเซอร์ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝ้า คือ
ฮอร์โมนการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจะทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานผิดปกติ เช่น ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือวัยหมดประจำเดือนและการได้รับฮอร์โมนจากภายนอกร่างกายทำให้มีโอกาสเป็นฝ้าได้มาก เช่น รับประทานยาคุมกำเนิด การใช้เครื่องสำอางบางชนิดที่มีฮอร์โมนผสมอยู่
แสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกระตุ้นเซลล์ให้สร้างเม็ดสีมากขึ้น ทำให้เกิดฝ้าและมีส่วนสำคัญที่ทำให้ฝ้าเข็มขึ้นอีกด้วย เชื่อว่าเกิดจากแสงอัลตราไวโอเลต A,B และ Visible Light จึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00-15.00 น.
- ความเครียด สารเคมี (เช่น น้ำมันดิน) น้ำหอม เครื่องสำอาง ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดฝ้าหรือรอยด่างดำบนใบหน้าได้
- ผู้ที่เป็นโรคบางชนิด เช่น เนื้องอกของรังไข่ โรคแอลดิสัน ก็อาจทำให้หน้าเป็นฝ้าดำได้เช่นกัน
- พันธุกรรม อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในผู้ที่เป็นฝ้าที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน
- ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยากันชัก เป็นต้น
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับฝ้า
1. ฝ้าที่เกิดจากการตั้งครรภ์ โดยการกินหรือฉีดยาคุมกำเนิดอาจหายได้เองหลังคลอดหรือหลังหยุดใช้ยาคุมกำเนิด (อาจใช้เวลาเป็นสองเท่าของระยะเวลาที่กินยาคุมกำเนิด เช่น ถ้ากินยาอยู่นาน 1 ปี ก็อาจใช้เวลาถ้า 2 ปี กว่าฝ้าจะหาย)
2. ฝ้าอาจมีสาเหตุจากโรคที่ซ่อนเร้นภายในร่างกาย เช่น เนื้องอกของรังไข่ โรคแอดดิสัน เป็นต้น นอกจากนี้ โรคเอสแอลอี ก็อาจมีผื่นแดงขึ้นที่แก้มคล้ายรอยฝ้าได้ ดังนั้นถ้าพบมีอาการผิดสังเกตอื่น ๆ เช่น อ่อนเพลีย เป็นลมบ่อย ปวดข้อ ผมร่วง เป็นไข้เรื้อรัง เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์
3. ยารักษาฝ้าบางชนิดอาจมีสารเคมีที่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocytes) ทำให้หน้าขาววอกเป็นรอยแดงหรือเป็นรอยด่างอย่างน่าเกลียด ดังนั้น จึงควรระมัดระวังอย่าซื้อยาลอกฝ้ามาทาเองอย่างส่งเดช โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่โฆษณาว่าทำให้หายได้ทันที ยาลอกฝ้าที่ผสมสารปรอทอาจทำให้ฝ้าจางลงแต่อาจมีอันตรายจากการสะสมปรอทที่ผิวหนังและในร่างกายได้
4. ในการรักษาฝ้าอาจต้องใช้เวลานานเป็นแรมเดือนหรืออาจไม่มีทางรักษาให้หายขาด เพียงแต่ใช้ยากันแสงและยาลอกฝ้าทาไปเรื่อย ๆ ถ้าหยุดยาอาจกำเริบได้ใหม่ สำหรับฝ้าที่อยู่ตื้อ ๆ (สีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม) มักจะรักษาได้ผลดีแต่ฝ้าที่อยู่ลึก (สีน้ำตาลเทาหรือสีดำ) อาจได้ผลช้าหรือไม่ได้ผลเลย
5. การลอกหน้า ขัดผิว ตามร้านเสริมสวยทั้งน่ากลัวแล้วยังอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น การแพ้ส้มผัส จึงไม่แนะนำให้ไปลอกหน้า ขัดผิว
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับกระ
กระ จัดเป็นเรื่องปกติของคนเอเชียผิวใครไม่มีกระต่างหากที่ถือเป็นเรื่องแปลก กระจะเกิดขึ้นในคนที่มีผิวขาวโดยมีแสงแดดเป็นตัวกระตุ้น และมีกรรมพันธุ์เป็นพื้นฐาน
เป็นเรื่องจริงที่ว่า ถ้าไม่ถูกแสงแดดก็จะไม่เกิดกระ ดังนั้นเราจะพบการเป็นกระเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด อาทิ เช่น ใบหน้า คอ แขน เป็นต้น และกระจะมีสีเข้มและมีจำนวนมากขึ้นในฤดูร้อนที่แดดแรงและจะจางลงในฤดูหนาว
วิธีการรักษากระแบ่งเป็น 2 แนวคิด คือ
หมอจะพยายามเตือนให้คนไข้หลีกเลี่ยงแสงแดดและทายากันแดด (SPF30) ทุกวัน หรืออาจจะใช้ครีม Whitening ไปทาเพื่อให้สีกระจางลง
หมอจะยิงเลเซอร์ให้คนไข้ซึ่งกระก็จะหายไปแต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมากและหลังจากยิงเลเซอร์แล้วจำเป็นอย่างยิงที่จะต้องดูแลตัวเองไม่ให้ถูกแสงแดดหรือไอแดดมิฉะนั้นก็มีสิทธิ์ที่จะกลับมาเป็นอีก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก first ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
กระ จัดเป็นเรื่องปกติของคนเอเชียผิวใครไม่มีกระต่างหากที่ถือเป็นเรื่องแปลก กระจะเกิดขึ้นในคนที่มีผิวขาวโดยมีแสงแดดเป็นตัวกระตุ้น และมีกรรมพันธุ์เป็นพื้นฐาน
เป็นเรื่องจริงที่ว่า ถ้าไม่ถูกแสงแดดก็จะไม่เกิดกระ ดังนั้นเราจะพบการเป็นกระเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด อาทิ เช่น ใบหน้า คอ แขน เป็นต้น และกระจะมีสีเข้มและมีจำนวนมากขึ้นในฤดูร้อนที่แดดแรงและจะจางลงในฤดูหนาว
วิธีการรักษากระแบ่งเป็น 2 แนวคิด คือ
หมอจะพยายามเตือนให้คนไข้หลีกเลี่ยงแสงแดดและทายากันแดด (SPF30) ทุกวัน หรืออาจจะใช้ครีม Whitening ไปทาเพื่อให้สีกระจางลง
หมอจะยิงเลเซอร์ให้คนไข้ซึ่งกระก็จะหายไปแต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมากและหลังจากยิงเลเซอร์แล้วจำเป็นอย่างยิงที่จะต้องดูแลตัวเองไม่ให้ถูกแสงแดดหรือไอแดดมิฉะนั้นก็มีสิทธิ์ที่จะกลับมาเป็นอีก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก first ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น